อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ประเภทต่างๆ
อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Cyber-Crime) เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อโจมตีระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลที่อยู่บนระบบดังกล่าว ส่วนในมุมมองที่กว้างขึ้น “อาชญากรรมที่เกี่ยวเนื่องกับคอมพิวเตอร์” หมายถึงการกระทำที่ผิดกฎหมายใดๆ ซึ่งอาศัยหรือมีความเกี่ยวเนื่องกับระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย อย่างไรก็ตาม อาชญากรรมประเภทนี้ไม่ถือเป็นอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์โดยตรง
ในการประชุมสหประชาชาติครั้งที่ 10 ว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิด (The Tenth United Nations Congress on the Prevention of Crime and the Treatment of Offenders) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเวียนนา เมื่อวันที่ 10-17 เมษายน 2543 ได้มีการจำแนกประเภทของอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ โดยแบ่งเป็น 5 ประเภท คือ การเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต, การสร้างความเสียหายแก่ข้อมูลหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์, การก่อกวนการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย, การยับยั้งข้อมูลที่ส่งถึง/จากและภายในระบบหรือเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และการจารกรรมข้อมูลบนคอมพิวเตอร์
โครงการอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์และการโจรกรรมทรัพย์สินทางปัญญา (Cyber-Crime and Intellectual Property Theft) พยายามที่จะเก็บรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูล และค้นคว้าเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ 6 ประเภท ที่ได้รับความนิยม ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อประชาชนและผู้บริโภค นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับขอบเขตและความซับซ้อนของปัญหา รวมถึงนโยบายปัจจุบันและความพยายามในการปัญหานี้
อาชญากรรม 6 ประเภทดังกล่าวได้แก่
1. การเงิน – อาชญากรรมที่ขัดขวางความสามารถขององค์กรธุรกิจในการทำธุรกรรม อี-คอมเมิร์ซ(หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์)
2. การละเมิดลิขสิทธิ์ – การคัดลอกผลงานที่มีลิขสิทธิ์ ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและอินเทอร์เน็ตถูกใช้เป็นสื่อในการก่ออาชญากรรม แบบเก่า โดยการโจรกรรมทางออนไลน์หมายรวมถึง การละเมิดลิขสิทธิ์ ใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อจำหน่ายหรือเผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์
3. การเจาะระบบ – การให้ได้มาซึ่งสิทธิในการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และในบางกรณีอาจหมายถึงการใช้สิทธิการเข้าถึงนี้โดยไม่ได้รับอนุญาต นอกจากนี้การเจาะระบบยังอาจรองรับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ในรูปแบบอื่นๆ (เช่น การปลอมแปลง การก่อการร้าย ฯลฯ)
4. การก่อการร้ายทางคอมพิวเตอร์ – ผลสืบเนื่องจากการเจาะระบบ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว เช่นเดียวกับการก่อการร้ายทั่วไป โดยการกระทำที่เข้าข่าย การก่อการร้ายทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-terrorism) จะเกี่ยวข้องกับการเจาระบบคอมพิวเตอร์เพื่อก่อเหตุรุนแรงต่อบุคคลหรือทรัพย์สิน หรืออย่างน้อยก็มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว
5. ภาพอนาจารทางออนไลน์ – ตามข้อกำหนด 18 USC 2252 และ 18 USC 2252A การประมวลผลหรือการเผยแพร่ภาพอนาจารเด็กถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และตามข้อกำหนด 47 USC 223 การเผยแพร่ภาพลามกอนาจารในรูปแบบใดๆ แก่เยาวชนถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย อินเทอร์เน็ตเป็นเพียงช่องทางใหม่สำหรับอาชญากรรม แบบเก่า อย่างไรก็ดี ประเด็นเรื่องวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการควบคุมช่องทางการสื่อสารที่ครอบคลุมทั่วโลกและเข้าถึงทุกกลุ่มอายุนี้ได้ก่อให้เกิดการถกเถียงและการโต้แย้งอย่างกว้างขวาง
6. ภายในโรงเรียน – ถึงแม้ว่าอินเทอร์เน็ตจะเป็นแหล่งทรัพยากรสำหรับการศึกษาและสันทนาการ แต่เยาวชนจำเป็นต้องได้รับทราบเกี่ยวกับวิธีการใช้งานเครื่องมืออันทรงพลังนี้อย่างปลอดภัยและมีความรับผิดชอบ โดยเป้าหมายหลักของโครงการนี้คือ เพื่อกระตุ้นให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดทางกฎหมาย สิทธิของตนเอง และวิธีที่เหมาะสมในการป้องกันการใช้อินเทอร์เน็ตในทางที่ผิด
บทความโดย : กลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์
http://www.microsoft.com/thailand/piracy/cybercrime.aspx
2. อธิบายความหมายของ
2.1 Hacker
หมายถึง บุคคลผู้ที่เป็นอัจฉริยะ มีความรู้ในระบบคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี สามารถเข้าไปถึงข้อมูลในคอมพิวเตอร์โดยเจาะผ่านระบบ รักษาความปลอดภัยของ คอมพิวเตอร์ได้ แต่อาจไม่แสวงหาผลประโยชน์
2.2 Cracker
หมายถึง ผู้ที่มีความรู้และทักษะทางคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี จนสามารถเข้าสู่ระบบได้ เพื่อเข้าไปทำลายหรือลบแฟ้มข้อมูล หรือทำให้ เครื่องคอมพิวเตอร์ เสียหายรวมทั้งการทำลายระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์
2.3 สแปม
สแปม (Spam) คือ การส่งอีเมลที่มีข้อความโฆษณาไปให้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้รับ การสแปมส่วนใหญ่ทำเพื่อการโฆษณาเชิงพาณิชย์ มักจะเป็นสินค้าที่น่าสงสัย หรือการเสนองานที่ทำให้รายได้อย่างรวดเร็ว หรือบริการที่ก้ำกึ่งผิดกฏหมาย ผู้ส่งจะเสียค่าใช้จ่ายในการส่งไม่มากนัก แต่ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่จะตกอยู่กับผู้รับอีเมลนั้น
http://officialstamp.exteen.com/20120712/4-5-spam-virus
2.4 ม้าโทรจัน
โทรจัน (Trojan) คือโปรแกรมจำพวกหนึ่งที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อแอบแฝง กระทำการบางอย่าง ในเครื่องของเรา จากผู้ที่ไม่หวังดี ชื่อเรียกของโปรแกรมจำพวกนี้ มาจากตำนานของม้าไม้แห่งเมืองทรอย โทรจันจะถูกแนบมากับ อีการ์ด อีเมล์ หรือโปรแกรมที่มีให้ดาวน์โหลดตามอินเทอร์เน็ตในเว็บไซต์ใต้ดิน และสามารถเข้ามาในเครื่องของเรา โดยที่เราเป็นผู้รับมันมาโดยไม่รู้ตัวนั่นเอง
http://officialstamp.exteen.com/20120712/4-5-spam-virus
2.5 สปายแวร์
Spyware คือ โปรแกรมที่แฝงเข้ามาในคอมพิวเตอร์ขณะที่คุณท่องอินเตอร์เน็ต ถูกเขียนขึ้นมาสอดส่อง การใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ และจะทำการเก็บพฤติกรรมการใช้งานอินเตอร์เน็ตของเรา รวมถึงข้อมูลส่วนตัวหลาย ๆ อย่างได้แก่ ชื่อ - นามสกุล , ที่อยู่ , E-Mail --mlinkarticle--} Address และอื่น ๆ ซึ่งอาจจะรวมถึงสิ่งสำคัญต่าง ๆ เช่น Password หรือ หมายเลข บัตรเครดิตของเราด้วย นอกจากนี้อาจจะมีการสำรวจโปรแกรม และไฟล์ต่าง ๆ ในเครื่องเราด้วย และ Spyware นี้จะทำการส่งข้อมูลดังกล่าวไปในเครื่องปลายทางที่โปรแกรมได้ระบุเอาไว้ ดังนั้นข้อมูลต่าง ๆ ในเครื่องของคุณอาจไม่เป็นความลับอีกต่อไป spyware อาจเข้ามาเพื่อโฆษณาสินค้าต่าง ๆ บางตัวก็สร้างความรำคาญเพราะจะเปิดหน้าต่างโฆษณาบ่อย ๆ แต่บางตัวร้ายกว่านั้น คือ ทำให้คุณใช้อินเตอร์เน็ทไม่ได้เลย
www.mindphp.com
3.จงยกตัวอย่างกฏหมาย ICT หรือ พรบ คอมพิวเตอร์มีอะไรบ้างและบทลงโทษ 5 อย่าง
กฎหมายคอมพิวเตอร์
เมื่อวันจันทร์ที่28 มี.ค. 54 กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) จัด ประชุมรับฟังและให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติว่า ด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ โดยเชิญตัวแทนผู้ประกอบการด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม โดยในการประชุมดังกล่าว มีการแจกเอกสารร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ที่กระทรวงไอซีทีจัดทำขึ้นด้วย
ร่างกฎหมายนี้ เขียนขึ้นเพื่อให้ยกเลิกพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์พ.ศ. 2550 ทั้ง ฉบับ และให้ใช้ร่างฉบับใหม่นี้แทน อย่างไรก็ดี โครงสร้างของเนื้อหากฎหมายมีลักษณะคล้ายคลึงฉบับเดิม โดยมีสาระสำคัญที่ต่างไป ดังนี้
ประเด็นที่1 เพิ่มนิยาม “ผู้ดูแลระบบ”
มาตรา4 เพิ่ม นิยามคำว่า “ผู้ดูแลระบบ” หมายความว่า “ผู้มีสิทธิเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการแก่ผู้อื่นในการเข้าสู่อิน เทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการดูแลเพื่อประโยชน์ของตนเองหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น”
ใน กฎหมายเดิมมีการกำหนดโทษของ “ผู้ให้บริการ” ซึ่งหมายถึงผู้ที่ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีการวิพากษ์วิจารณ์กันมากว่า การพยายามเอาผิดผู้ให้บริการซึ่งถือเป็น “ตัวกลาง” ในการสื่อสาร จะส่งผลต่อความหวาดกลัวและทำให้เกิดการเซ็นเซอร์ตัวเอง อีกทั้งในแง่ของกฎหมายคำว่าผู้ให้บริการก็ตีความได้อย่างกว้างขวาง คือแทบจะทุกขั้นตอนที่มีความเกี่ยวข้องในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารก็ล้วนเป็น ผู้ให้บริการทั้งสิ้น
สำหรับ ร่างฉบับใหม่ที่เพิ่มนิยามคำว่า “ผู้ดูแลระบบ” ขึ้นมานี้ อาจหมายความถึงเจ้าของเว็บไซต์ เว็บมาสเตอร์ แอดมินระบบเครือข่าย แอดมินฐานข้อมูล ผู้ดูแลเว็บบอร์ด บรรณาธิการเนื้อหาเว็บ เจ้าของบล็อก ขณะที่ “ผู้ให้บริการ” อาจหมายความถึงผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต
ตาม ร่างกฎหมายนี้ ตัวกลางต้องรับโทษเท่ากับผู้ที่กระทำความผิด เช่น หากมีการเขียนข้อมูลที่ไม่ตรงกับความจริง กระทบกระเทือนต่อความมั่นคง ผู้ดูแลระบบและผู้ให้บริการที่จงใจหรือยินยอมมีความผิดทางอาญาเท่ากับผู้ที่ กระทำความผิด และสำหรับความผิดต่อระบบคอมพิวเตอร์ เช่นการเจาะระบบ การดักข้อมูล หากผู้กระทำนั้นเป็นผู้ดูแลระบบเสียเอง จะมีโทษ1.5 เท่าของอัตราโทษที่กำหนดกับคนทั่วไป
ประเด็นที่ 2 คัดลอกไฟล์ จำคุกสูงสุด 3 ปี
สิ่งใหม่ในกฎหมายนี้ คือมีมาตรา16 ที่ เพิ่มมาว่า “ผู้ใดสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
ทั้งนี้ การทำสำเนาคอมพิวเตอร์ อาจหมายถึงการคัดลอกไฟล์ การดาว์นโหลดไฟล์จากเว็บไซต์ต่างๆ มาตรานี้อาจมีไว้ใช้เอาผิดกรณีการละเมิดลิขสิทธิ์ภาพยนตร์หรือเพลง แต่แนวทางการเขียนเช่นนี้อาจกระทบไปถึงการแบ็กอัปข้อมูล การเข้าเว็บแล้วเบราว์เซอร์ดาว์นโหลดมาพักไว้ในเครื่องโดยอัตโนมัติหรือที่ เรียกว่า “แคช” (cache เป็น เทคนิคที่ช่วยให้เรียกดูข้อมูลได้รวดเร็วขึ้น โดยเก็บข้อมูลที่เคยเรียกดูแล้วไว้ในเครื่อง เพื่อให้การดูครั้งต่อไป ไม่ต้องโหลดซ้ำ) ซึ่งผู้ใช้อาจมิได้มีเจตนาหรือกระทั่งรับรู้ว่ามีกระทำการดังกล่าว
ประเด็นที่ 3 มีไฟล์ลามกเกี่ยวกับเด็ก ผิด
ในมาตรา25 “ผู้ ใดครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์ซึ่งมีลักษณะอันลามกที่เกี่ยวข้องกับเด็กหรือ เยาวชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
เป็นครั้งแรกที่มีการระบุขอบเขตเรื่องลามกเด็กหรือเยาวชนโดยเฉพาะขึ้น แต่อย่างไรก็ดี ยังมีความคลุมเครือว่า ลักษณะอันลามกที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชนนั้นหมายความอย่างไร นอกจากนี้ มาตราดังกล่าวยังเป็นการเอาผิดที่ผู้บริโภค ซึ่งมีความน่ากังวลว่า การชี้วัดที่ “การครอบครอง” อาจทำให้เกิดการเอาผิดที่ไม่เป็นธรรม เพราะธรรมชาติการเข้าเว็บทั่วไป ผู้ใช้ย่อมไม่อาจรู้ได้ว่าการเข้าชมแต่ละครั้งดาว์นโหลดไฟล์ใดมาโดย อัตโนมัติบ้าง และหากแม้คอมพิวเตอร์ถูกตรวจแล้วพบว่ามีไฟล์โป๊เด็ก ก็ไม่อาจหมายความได้ว่าผู้นั้นเป็นเจ้าของ หรือเป็นผู้ดูผู้ชม
ประเด็นที่ 4 ยังเอาผิดกับเนื้อหา
มาตรา24 (1) นำ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลที่ไม่ตรงต่อความเป็นจริง โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความ ตื่นตระหนกแก่ประชาชน
เนื้อความข้างต้น เป็นการรวมเอาข้อความในมาตรา14 (1) และ (2) ของ กฎหมายปัจจุบันมารวมกัน ทั้งนี้ หากย้อนไปถึงเจตนารมณ์ดั้งเดิมก่อนจะเป็นข้อความดังที่เห็น มาจากความพยายามเอาผิดกรณีการทำหน้าเว็บเลียนแบบให้เข้าใจว่าเป็นหน้าเว็บ จริงเพื่อหลอกเอาข้อมูลส่วนบุคคล (phishing) จึง เขียนกฎหมายออกมาว่า การทำข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมถือเป็นความผิด แต่เมื่อแนวคิดนี้มาอยู่ในมือนักกฎหมายและเจ้าหน้าที่ ได้ตีความคำว่า “ข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอม” เสียใหม่ กลายเป็นเรื่องการเขียนเนื้อหาอันเป็นเท็จ และนำไปใช้เอาผิดฟ้องร้องกันในเรื่องการหมิ่นประมาท ความเข้าใจผิดนี้ยังดำรงอยู่และต่อเนื่องมาถึงร่างนี้ซึ่งได้ปรับถ้อยคำใหม่ และกำกับด้วยความน่าจะเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่น ตระหนกแก่ประชาชน มีโทษจำคุกสูงสุด ห้าปี ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หาก พิจารณาจากประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่รัฐในการดำเนินคดีคอมพิวเตอร์ที่ผ่านมา ปัญหานี้ก่อให้เกิดการเอาผิดประชาชนอย่างกว้างขวาง เพราะหลายกรณี รัฐไทยเป็นฝ่ายครอบครองการนิยามความจริง ปกปิดความจริง ซึ่งย่อมส่งผลให้คนหันไปแสดงความคิดเห็นในอินเทอร์เน็ตแทน อันอาจถูกตีความได้ว่ากระทบต่อความไม่มั่นคงของ “รัฐบาล” ข้อความกฎหมายลักษณะนี้ยังขัดต่อสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานในการแสดงความคิด เห็นโดยไม่จำเป็น
ประเด็นที่ 5 ดูหมิ่น ผิดพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
มาตรา26 ผู้ ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพ ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่น หรือข้อมูลอื่นใด โดยประการที่น่าจะทำให้บุคคลอื่นเสียหาย เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย หรือเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นข้อมูลที่แท้จริง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ที่ผ่านมามีความพยายามฟ้องคดีหมิ่นประมาทซึ่งกันและกันโดยใช้พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์จำนวนมาก แต่การกำหนดข้อหายังไม่มีมาตราใดในพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ที่จะใช้ได้อย่างตรงประเด็น มีเพียงมาตรา 14 (1) ที่ระบุเรื่องข้อมูลอันเป็นเท็จดังที่กล่าวมาแล้ว และมาตรา 16 ว่าด้วยภาพตัดต่อ ในร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ได้สร้างความสะดวกให้เจ้าหน้าที่ใช้ตั้งข้อหาการดูหมิ่นต่อกันได้ง่ายขึ้นข้อสังเกตคือ ความผิดตามร่างฉบับใหม่นี้กำหนดให้การดูหมิ่น หรือหมิ่นประมาทมีโทษจำคุกสามปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท ทั้งที่การหมิ่นประมาทในกรณีปกติ ตามประมวลกฎหมายอาญามีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี ปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
ศึกษาข้อมูลทั้งหมดได้ที่ http://baimiang.wordpress.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น